Green Ocean Strategy

(www.greenoceanstrategy.org)

องค์ประกอบ


แนวคิดก่อนหน้าในสนามการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้เกิดกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เรียกว่า Blue Ocean โดยถูกกล่าวขานถึงมากในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ด้วยความพยายามในการคำนึงถึงการสร้างตลาดใหม่ หรือการสร้างและยึดอุปสงค์ใหม่ รวมทั้งการมุ่งเน้นที่จะยกระดับการเติบโตด้วยการสร้างนวัตกรรมทางคุณค่า (Innovating Value) เพื่อหลีกหนีสมรภูมิการแข่งขันในแบบ Red Ocean

อย่างไรก็ดี สถานะของตลาดแบบ Blue Ocean ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้นาน เมื่อผู้เล่นหน้าใหม่ต่างเห็นโอกาสเดียวกันและกระโจนเข้าสู่ตลาดใหม่ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ไม่ด้อยไปกว่ารายเดิม จนกลายเป็น Red Ocean ในที่สุด

กระแส CSR ที่สามารถตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันทางธุรกิจ ภายใต้กรอบการพัฒนาความยั่งยืนทางคุณค่า (Sustaining Value) ให้คงอยู่กับธุรกิจในระยะยาว ด้วยการเติมองค์ประกอบทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

กลยุทธ์ Green Ocean แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ เรื่องของ “ระบบ” ที่กำกับดูแลด้วยธรรมาภิบาลสีเขียว (Green Governance) และเรื่องของ “คน” ที่ปลูกสร้างด้วยอุปนิสัยสีเขียว (Green Habits)

สำหรับเรื่องธรรมาภิบาลสีเขียว สามารถที่จะจำแนกออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency) ภาระรับผิดชอบในกระบวนการ (Process Accountability) และประสิทธิผลในตัวผลิตภัณฑ์ (Product Effectiveness)

Green Governance System

ขณะเดียวกัน ในด้านของการสร้างอุปนิสัยให้กับบุคลากรก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะเดินไปสู่เป้าหมายตามแนวคิด Green Ocean โดยพฤติกรรมที่ควรเสริมสร้างให้กลายเป็นอุปนิสัยสีเขียว ได้แก่ Rethink - Reduce - Reuse - Recycle - Recondition - Refuse - Return